เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Geographic Information System (GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมายถึง เครื่องมือที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ Hardware Software ใช้ จัดเก็บ ปรับแก้ ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล และจำลองข้อมูลทางด้านพื้นที่จากพื้นที่จริงมาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเชิงพื้นที่ต่างๆ จะต้องมีค่าพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาทำการวิเคราะห์ ประมาลผลเพื่อหาคำตอบประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับพื้นที่ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
แสดงการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เปรียบเทียบกับแผนที่กระดาษ
องค์ประกอบของ GIS
1.Hardware
2.Software
3.Data/Information
4.User/People
5.Method/Process
ประเภทของข้อมูล GIS
1.ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
คือ ข้อมูลซึ่งสามารถอธิบายถึงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่หรือข้อมูลที่แสดงลักษณะทางด้านกายภาพ ของสิ่งต่างๆ ณ ตำแหน่ง และช่วงเวลาที่สามารถระบุได้แน่นอนหรือเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงพิกัด ภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2.ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data)
คือ ข้อมูลที่อธิบายลักษณะหรือรายละเอียดเฉพาะของข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้น อาจได้มาจากการรวบรวมเอกสาร รายงาน จากการสำรวจและการบันทึก
รูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่
แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
1.Vector คือ ข้อมูลเชิงเส้น
ข้อมูล Vector แบ่งได้ 3 ลักษณะ
Point ข้อมูลที่แทนด้วยจุด เช่น ที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ โรงเรียน วัด โรงพยาบาล วัดพื้นที่ไม่ได้
Line ข้อมูลที่แทนด้วยเส้น เช่น เส้นถนน ทางน้ำ แนวสายส่งศักย์สูง สามารถวัดความยาวได้
Polygon/Area ข้อมูลที่แทนด้วยพื้นที่หรือรูปปิด เช่น ขอบเขตการปกครอง การใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มชุดดิน สามารถวัดพื้นที่
และเส้นรอบรูปได้
2.Raster คือ ข้อมูลภาพ
ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Grid ซึ่ง Grid ก็จะมีรูปแบบเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ เรียกว่า Pixel/Cell ที่มีขนาดเท่ากัน และต่อเนื่อง รวมไปถึงสามารถอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ ขนาดหรือความละเอียด(Resolution) ของ Grid นั้น จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งจำนวนแถวและคอลัมน์ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม
ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT 7
ตัวอย่างข้อมูล Raster
Landsat 7
Ikonos
Quickbird
หน้าที่ของ GIS
1. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Capture)
2. การเก็บบันทึกและเรียกค้นข้อมูล (Data Storage and Retrieval)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4. การวิเคราะห์/ประมวลข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Operation on Data)
5. การแสดงผลข้อมูล (Data Display)
ที่มา : http://www.envi.psu.ac.th/gis/gis/gis_index.htm
2. การเก็บบันทึกและเรียกค้นข้อมูล (Data Storage and Retrieval)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4. การวิเคราะห์/ประมวลข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Operation on Data)
5. การแสดงผลข้อมูล (Data Display)
ที่มา : http://www.envi.psu.ac.th/gis/gis/gis_index.htm
ประโยชน์ที่ได้รับจาก GIS
1. เพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลด้านสังคมเศรษฐกิจ การซ้อนทับของข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Overlay)
3. สามารถสร้างแบบจำลอง (Model) ทดสอบและเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะมีการนำเสนอยุทธวิธีในการปฏิบัติจริง
4. การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่าย
5. สามารถจัดการกับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้
2. การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลด้านสังคมเศรษฐกิจ การซ้อนทับของข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Overlay)
3. สามารถสร้างแบบจำลอง (Model) ทดสอบและเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะมีการนำเสนอยุทธวิธีในการปฏิบัติจริง
4. การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่าย
5. สามารถจัดการกับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้
ความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับ GIS
1. GIS เป็นเสมือนเครื่องมือวิเศษด้านเทคโนโลยี สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้สำหรับทุกคน
2. เทคโนโลยีนี้สามารถเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพเลวให้เป็นข้อมูลคุณภาพดีได้
3. ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นข้อมูลในรูป Digital ได้ง่าย
4. GIS มีความเชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะด้าน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาการนั้น ๆ ในการนำ GIS ไปใช้ เช่น การวางแผนการใช้ที่ดิน ผู้ใช้ GIS ไม่จำเป็นต้องรู้หลักการวางแผนหรือประเภทการใช้ที่ดินเลยก็ได้
5. การใช้ GIS ไม่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรม หรือประสบการณ์
6. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ GIS เป็นเรื่องของปัญหาทางด้านเทคนิค มากกว่าที่เป็นปัญหาทางด้านระบบ วิธีการ องค์กร และข้อมูล
7. การใช้ประโยชน์ของ GIS คล้ายกับงานด้านระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่น Land Resource Information System (LRIS), Natural Resource Information System (NRIS) ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งที่ใช้ร่วมกันในงานดังกล่าวคือ หลักการและเทคโนโลยี