ขออัญเชิญ ส.ค.ส.พระราชทานและพรปีใหม่จากในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อความเป็นสิริมงคล ขอจงทรงพระเจริญ



เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แก่พสกนิกรชาวไทย จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ “ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดี ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมากที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยใจภักดี และระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัว และปฏิญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใจ กาย ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิด จะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จ สมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน”
Click ที่นี่ เพื่อดู ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง ปี พ.ศ.2530-2552 
Click ที่นี่ เพื่อฟัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่พสกนิกรชาวไทย พ.ศ.2552 





11 พฤศจิกายน, 2551

เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


Geographic Information System (GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
หมายถึง เครื่องมือที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ Hardware Software ใช้ จัดเก็บ ปรับแก้ ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล และจำลองข้อมูลทางด้านพื้นที่จากพื้นที่จริงมาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเชิงพื้นที่ต่างๆ จะต้องมีค่าพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาทำการวิเคราะห์ ประมาลผลเพื่อหาคำตอบประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับพื้นที่ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
แสดงการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เปรียบเทียบกับแผนที่กระดาษ

gis compare

gis concept
GIS pyramid
องค์ประกอบของ GIS
5_gis_s
1.Hardware
2.Software
3.Data/Information
4.User/People
5.Method/Process
ประเภทของข้อมูล GIS
1.ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
คือ ข้อมูลซึ่งสามารถอธิบายถึงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่หรือข้อมูลที่แสดงลักษณะทางด้านกายภาพ ของสิ่งต่างๆ ณ ตำแหน่ง และช่วงเวลาที่สามารถระบุได้แน่นอนหรือเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงพิกัด ภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2.ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data)
คือ ข้อมูลที่อธิบายลักษณะหรือรายละเอียดเฉพาะของข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้น อาจได้มาจากการรวบรวมเอกสาร รายงาน จากการสำรวจและการบันทึก
รูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่
แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
1.Vector คือ ข้อมูลเชิงเส้น
ข้อมูล Vector แบ่งได้ 3 ลักษณะ
Point ข้อมูลที่แทนด้วยจุด เช่น ที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ โรงเรียน วัด โรงพยาบาล วัดพื้นที่ไม่ได้
point
Line ข้อมูลที่แทนด้วยเส้น เช่น เส้นถนน ทางน้ำ แนวสายส่งศักย์สูง สามารถวัดความยาวได้
line
Polygon/Area ข้อมูลที่แทนด้วยพื้นที่หรือรูปปิด เช่น ขอบเขตการปกครอง การใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มชุดดิน สามารถวัดพื้นที่
และเส้นรอบรูปได้
polygon
2.Raster คือ ข้อมูลภาพ
ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Grid ซึ่ง Grid ก็จะมีรูปแบบเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ เรียกว่า Pixel/Cell ที่มีขนาดเท่ากัน และต่อเนื่อง รวมไปถึงสามารถอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ ขนาดหรือความละเอียด(Resolution) ของ Grid นั้น จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งจำนวนแถวและคอลัมน์ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม
Raster
ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT 7
ตัวอย่างข้อมูล Raster

landsat7

Landsat 7

ikonos

Ikonos

quickbird

Quickbird
หน้าที่ของ GIS
1. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Capture)
2. การเก็บบันทึกและเรียกค้นข้อมูล (Data Storage and Retrieval)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4. การวิเคราะห์/ประมวลข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Operation on Data)
5. การแสดงผลข้อมูล (Data Display)

ที่มา : http://www.envi.psu.ac.th/gis/gis/gis_index.htm
ประโยชน์ที่ได้รับจาก GIS
1. เพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลด้านสังคมเศรษฐกิจ การซ้อนทับของข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Overlay)
3. สามารถสร้างแบบจำลอง (Model) ทดสอบและเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะมีการนำเสนอยุทธวิธีในการปฏิบัติจริง
4. การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่าย
5. สามารถจัดการกับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้
ความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับ GIS
1. GIS เป็นเสมือนเครื่องมือวิเศษด้านเทคโนโลยี สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้สำหรับทุกคน
2. เทคโนโลยีนี้สามารถเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพเลวให้เป็นข้อมูลคุณภาพดีได้
3. ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นข้อมูลในรูป Digital ได้ง่าย
4. GIS มีความเชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะด้าน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาการนั้น ๆ ในการนำ GIS ไปใช้ เช่น การวางแผนการใช้ที่ดิน ผู้ใช้ GIS ไม่จำเป็นต้องรู้หลักการวางแผนหรือประเภทการใช้ที่ดินเลยก็ได้
5. การใช้ GIS ไม่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรม หรือประสบการณ์
6. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ GIS เป็นเรื่องของปัญหาทางด้านเทคนิค มากกว่าที่เป็นปัญหาทางด้านระบบ วิธีการ องค์กร และข้อมูล
7. การใช้ประโยชน์ของ GIS คล้ายกับงานด้านระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่น Land Resource Information System (LRIS), Natural Resource Information System (NRIS) ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งที่ใช้ร่วมกันในงานดังกล่าวคือ หลักการและเทคโนโลยี

Search to Get MONEY! FREE to Sign Up!

Health Geographic Information System - P.Weerasak © 2008. Template by Dicas Blogger.

TOPO