ขออัญเชิญ ส.ค.ส.พระราชทานและพรปีใหม่จากในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อความเป็นสิริมงคล ขอจงทรงพระเจริญ



เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แก่พสกนิกรชาวไทย จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ “ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดี ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมากที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยใจภักดี และระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัว และปฏิญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใจ กาย ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิด จะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จ สมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน”
Click ที่นี่ เพื่อดู ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง ปี พ.ศ.2530-2552 
Click ที่นี่ เพื่อฟัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่พสกนิกรชาวไทย พ.ศ.2552 





22 ธันวาคม, 2551

จุดผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2549

จุดผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2549


ท่านใดต้องการข้อมูลสามารถติดต่อและแจ้งความประสงค์ ได้ที่

นายแพทย์วุฒิชัย ธวัชธงชัย
ผู้อำนวยการส่วนการแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขเมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
mobile : 081-8647900

นายวีระศักดิ์ ปรึกษา

mobile : 087-604479
e-mail : weerasak_prk@hotmail.com, vconsult1978@gmail.com


สำรวจข้อมูลแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2552

นำโดย : นายแพทย์วุฒิชัย ธวัชธงชัย
ผู้อำนวยการส่วนการแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขเมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
และคณะแพทย์ พยาบาลจากโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดชลบุรี

ผู้สำรวจ : นายวีระศักดิ์ ปรึกษา

11 ธันวาคม, 2551

Thailand Map Datum (พื้นหลักฐานอ้างอิง)




พื้นหลักฐาน Indian1975

ปี พ.ศ.2518 องค์การแผนที่ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา (Defense Mapping Agency Hydrographic/Topographic Center : DMAHTC) ได้ทำการปรับแก้และย้ายศูนย์กำเนิดของพื้นหลักฐานจากเขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย มาเป็นที่เขาสะแกกรัง จ.อุทัยธานี การปรับแก้ครั้งนี้ใช้เทคนิคการรังวัดจากดาวเทียมดอปเปลอร์จำนวน 9 สถานี ซึ่งตำแหน่งสัมพัทธ์ที่ได้จากการรังวัดดาวเทียมดอปเปลอร์ มีความถูกต้องสูงกว่าที่ได้จากงานโครงข่ายสามเหลี่ยม เป็นจุดควบคุมโครงข่ายสามเหลี่ยมซึ่งประกอบด้วย จำนวนหมุดสามเหลี่ยมทั้งสิ้น 426 สถานี เรียกผลลัพธ์จากการปรับแก้โครงข่ายสามเหลี่ยมในครั้งนี้ว่า พื้นหลักฐาน Indian1975 มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ จุดศูนย์กำเนิดพื้นหลักฐาน เขาสะแกกรัง(หมุดสามเหลี่ยมหมายเลข91)

ละติจูด 15 o 22’ 56”.0487 เหนือ

ลองจิจูด 100 o 00’ 59”.1906 ตะวันออก

ความสูงเหนือพื้นยีออย -22.46 เมตร

รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830

===============================================================

พื้นหลักฐาน Indian 1954

ปี พ.ศ.2495 รัฐบาลไทยได้ร่วมกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในโครงการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 จากรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของโครงข่ายให้เพียงพอ และทำให้ค่าพิกัดยีออเดซีในประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นประเทศไทยจึงทำการรังวัดขยายโครงข่ายสามเหลี่ยม โดยมีหน่วยงานบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดำเนินการคำนวณปรับแก้ใหม่ทั้งหมด โดยใช้หมุดสามเหลี่ยมบริเวณชายแดนไทย-พม่า จำนวน 10 หมุด เป็นหมุดควบคุมโครงข่าย และถือว่าหมุดควบคุมเหล่านี้ไม่มีความคลาดเคลื่อน ค่าพิกัดของหมุดควบคุมโครงข่ายดังกล่าวได้จากผลการปรับแก้ในปี พ.ศ.2459 บนพื้นหลักฐาน Indian1916 การคำนวณปรับแก้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2497 จึงเรียกผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับแก้ครั้งนี้ว่า พื้นหลักฐาน Indian1954 มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
จุดศูนย์กำเนิดพื้นหลักฐาน เขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย


ละติจูด 24 o 07’ 11”.26 เหนือ

ลองจิจูด 77 o 39’ 11”.57 ตะวันออก

อะซิมุทแรกออกจากใต้ เขากะเลียนเปอร์ – สุรันตัล 190 o 27’ 05”.10

รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830


===============================================================

พื้นหลักฐานราชบุรี

โครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ในอดีต นับตั้งแต่ประเทศอินเดียได้กำหนดจุดศูนย์กำเนิดของรูปทรงรีเอเวอร์เรสท์ 1830 ที่ภูเขากะเลียนเปอร์ รังวัดขยายโครงข่ายสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่งออกไปทั่วภูมิภาค ผ่านประเทศพม่าจนถึงเขตแดนไทยที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี และปรับแก้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2442 ต่อมาในปี พ.ศ.2450 กรมแผนที่ไทยในสมัยนั้น ได้รังวัดโครงข่ายงานสามเหลี่ยมชั้นที่หนึ่ง เชื่อมโยงกับหมุดหลักฐานที่เขาหลวง และทำการรังวัดเส้นฐานราชบุรี พร้อมกับการรังวัดอะซิมุทดาราศาสตร์ จากเขาแง้มไปเขางู เพื่อใช้เป็นสถานีแรกออกในการรังวัดขยายโครงข่ายออกไปทั่วประเทศ ประเทศไทยมีโครงข่ายควบคุมทางราบเป็นโครงข่ายแรกอ้างอิงกับพื้นหลักฐานราชบุรี โดยมีค่าพิกัดแรกออกที่ เขาหลวง จ.ราชบุรี ดังนี้

ละติจูด 13o 43’ 30”.34 เหนือ

ลองจิจูด 99 o 32’ 22”.94 ตะวันออก

อะซิมุทจากใต้ เขาแง้ม – เขางู 179 o 44’ 34”.308

รูปทรงรี เอเวอร์เรสท์ 1830

(a = 6377276.345 เมตร , f = 1/300.8017)

===============================================================

พื้นหลักฐาน Indian 1916

ปี พ.ศ.2459 หน่วยบริการแผนที่ กองทัพบก สหรัฐอเมริกา (US Army Map Service) ได้มอบหมายให้หน่วยงาน US. Coast and Geodetic Survey ทำการคำนวณปรับแก้โครงข่ายสามเหลี่ยมในประเทศอินเดียและพม่าใหม่ โดยใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่และข้อมูลใหม่จากการวัดดาราศาสตร์และเส้นฐานเพิ่มเติม ทำให้ค่าพิกัดของจุดศูนย์กำเนิดที่เขากะเลียนเปอร์ มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นค่าพิกัดที่เขาหลวงจึงเปลี่ยนแปลงตาม เรียกผลลัพธ์ของการคำนวณปรับแก้ครั้งนี้ว่า พื้นหลักฐาน Indian 1916 ค่าพิกัดเขาหลวงที่เปลี่ยนแปลงเป็นดังนี้คือ

ละติจูด 13o 43’ 28”.690 เหนือ

ลองจิจูด 99o 32’ 21”.520 ตะวันออก

===============================================================

ที่มา : กองยีออเดซี่ และ ยีออฟิสิกส์ กรมแผนที่ทหาร
http://www.rtsd.mi.th/information/download/geodasy.htm

10 ธันวาคม, 2551

คุณสมบัติของ THEOS

คุณสมบัติของ THEOS

THEOS (Thailand Earth Obser-vation Satellite) ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี (Design Life) เช่นเดียวกับดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO : Low Earth Orbit) แต่อาจมีอายุการใช้งานได้นานกว่าที่ออกแบบไว้ สามารถสำรวจได้ครอบคลุมทั่วโลก บันทึกข้อมูลได้ทั้งในช่วงที่คลื่นตามองเห็น (Visible) สามช่วงคลื่น คือ ช่วงคลื่นแสง สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน และช่วงคลื่น อินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) การโคจรของดาวเทียม ขณะอยู่ในช่วงที่มีแสงสว่างจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 200 องศาเซลเซียส ในขณะที่โคจรกลับมาทางด้านมืดจะมีอุณหภูมิต่ำประมาณ -200 องศาเซลเซียส ส่วนประกอบของดาวเทียมจึงต้องมีสภาพทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ดังนั้น จึงใช้ส่วนประกอบที่ผลิตจาก Silicon Carbide ซึ่งมี คุณสมบัติเหมาะสมต่อการทนสภาพอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง

ดาวเทียม THEOS มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม โคจร ในระดับความสูง 822 กิโลเมตร ซึ่งเป็นวงโคจรเดียวกับ ดาวเทียม SPOT มีระบบการบันทึกภาพสองระบบ คือ Panchromatic กับระบบ Multispectral โดย Panchromatic จะเป็นระบบที่แสดงภาพเป็นขาว-ดำ รายละเอียดภาพสองเมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ 22 กิโลเมตร ส่วน Multispectral จะแสดงเป็นภาพสี รายละเอียดภาพ 15 เมตร ความกว้างของแนวถ่ายภาพ 90 กิโลเมตร On-board Memory ที่ 51 GB ในกรณีที่ดาวเทียมโคจร ไปในจุดที่ไม่มีสถานีรับสัญญาณก็สามารถที่จะเก็บภาพไว้บนตัวดาวเทียม ซึ่งสามารถเก็บได้ถึง 100 ภาพ

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของดาวเทียม THEOS คือ สามารถเอียงกล้องได้ ซึ่งต่างจากดาวเทียม LANDSAT โดยดาวเทียมรุ่นใหม่ เช่น SPOT-5, IKONOS และ QUICKBIRD รวมถึงดาวเทียม THEOS เอง สามารถที่จะ เอียงกล้องได้ ประโยชน์ของการเอียงกล้องได้ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ดาวเทียมโคจรมาอยู่เหนือประเทศไทย แต่ประเทศพม่ามีความต้องการที่จะถ่ายภาพในพื้นที่ของประเทศพม่าเอง ก็สามารถที่จะเอียงกล้องให้ถ่ายภาพในบริเวณที่ต้องการได้ หรือกรณีเกิดภัยพิบัติขึ้นและต้องการข้อมูลด่วน ก็สามารถ เอียงกล้องไปยังจุดที่เกิดเหตุได้มากที่สุด (Maximum) 50 องศา


THEOS satellite
Total mass750 kg
Dimensions2.1 x 2.1 x 2.4 m
Solar array800 W
Nominal lifetime5 years
Hydrazine80 kg
Recording capacity40 Gbit Solid-state memory
Onboard image processing2.8 or 3.7 compression ratio (DCT)
Image telemetry120 Mbit/s (X band)
Altitude controlEarth pointing and high agility
Orbit determinationGPS
Payload1 PAN and 1 MS cameras
OrbitSun-synchronous 14+5/26 orbits per day
Inclination98.7 degree
Altitude at equator832 km
Period101.4 min
Local equator crossing time10:00 am (descending)
Sub-satellite point velocity6.6 km/s

การบริการข้อมูล & ผลิตภัณฑ์ดาวเทียม THEOS

สำหรับการบริการข้อมูลดาวเทียม THEOS ในประเทศไทย จะไม่คิดค่าข้อมูลในการบริการแก่หน่วยงานต่างๆ แต่จะคิดเฉพาะค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ซึ่งมีราคาต่ำมาก

ดาวเทียม THEOS สามารถผลิตข้อมูลได้ทั้งภาพ ขาว-ดำ และภาพสี ซึ่งภาพขาว-ดำอาจเติมสีได้ โดยใช้วิธีปรับความคมชัด (Pan Sharpening Method) และดาวเทียมสามารถประมวลผลได้หลายระดับ ดังนี้

ระดับ 1A เป็นระดับที่มีการแก้ไขความบิดเบือน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของอุปกรณ์บันทึกภาพ เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการแก้ไขเรขาคณิตด้วย ตัวเอง

ระดับ 2A มีการแก้ไขทางเรขาคณิตเนื่องจากตัวระบบ เช่น ผลจากการถ่ายภาพแนวกว้าง ความโค้งและการหมุนของโลก ฯลฯ สามารถแก้ไขความบิดเบือนภายในของข้อมูลภาพ โดยใช้ข้อมูลระยะ มุม พื้นผิว ของบริเวณ Projection ของภาพ ได้แก่ UTM WGS 84 โดยไม่ใช้ Ground Control Point และใช้แบบจำลองภูมิประเทศเพื่อแสดงความสูงเหนือ Ellipsoid อ้างอิง

ทั้งนี้ ดาวเทียม THEOS สามารถประมวลผลระดับ 2A ได้กว่า 30 ภาพ/วัน และใช้เวลาในการประมวลผล น้อยกว่า 30 นาทีต่อหนึ่งซีน

ระดับ 2B เป็นแผนที่ซึ่งมี Projection และ Ground Control Point จากแผนที่อื่นหรือวัดค่า GPS (Global Positioning System) เป็นการแก้ไขระดับความสูงเฉลี่ย โดยใช้ Projection และแผนที่มาตรฐานข้อมูลระดับนี้ เหมาะกับการใช้งานที่พื้นที่ผิวบริเวณนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มากนัก

ที่มา : http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3065&pid=301
ชื่อผู้เขียน : ศันสนีย์ วิมลประดิษฐ์

11 พฤศจิกายน, 2551

เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


Geographic Information System (GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
หมายถึง เครื่องมือที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ Hardware Software ใช้ จัดเก็บ ปรับแก้ ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล และจำลองข้อมูลทางด้านพื้นที่จากพื้นที่จริงมาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเชิงพื้นที่ต่างๆ จะต้องมีค่าพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาทำการวิเคราะห์ ประมาลผลเพื่อหาคำตอบประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับพื้นที่ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
แสดงการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เปรียบเทียบกับแผนที่กระดาษ

gis compare

gis concept
GIS pyramid
องค์ประกอบของ GIS
5_gis_s
1.Hardware
2.Software
3.Data/Information
4.User/People
5.Method/Process
ประเภทของข้อมูล GIS
1.ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
คือ ข้อมูลซึ่งสามารถอธิบายถึงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่หรือข้อมูลที่แสดงลักษณะทางด้านกายภาพ ของสิ่งต่างๆ ณ ตำแหน่ง และช่วงเวลาที่สามารถระบุได้แน่นอนหรือเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงพิกัด ภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2.ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data)
คือ ข้อมูลที่อธิบายลักษณะหรือรายละเอียดเฉพาะของข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้น อาจได้มาจากการรวบรวมเอกสาร รายงาน จากการสำรวจและการบันทึก
รูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่
แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
1.Vector คือ ข้อมูลเชิงเส้น
ข้อมูล Vector แบ่งได้ 3 ลักษณะ
Point ข้อมูลที่แทนด้วยจุด เช่น ที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ โรงเรียน วัด โรงพยาบาล วัดพื้นที่ไม่ได้
point
Line ข้อมูลที่แทนด้วยเส้น เช่น เส้นถนน ทางน้ำ แนวสายส่งศักย์สูง สามารถวัดความยาวได้
line
Polygon/Area ข้อมูลที่แทนด้วยพื้นที่หรือรูปปิด เช่น ขอบเขตการปกครอง การใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มชุดดิน สามารถวัดพื้นที่
และเส้นรอบรูปได้
polygon
2.Raster คือ ข้อมูลภาพ
ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Grid ซึ่ง Grid ก็จะมีรูปแบบเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ เรียกว่า Pixel/Cell ที่มีขนาดเท่ากัน และต่อเนื่อง รวมไปถึงสามารถอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ ขนาดหรือความละเอียด(Resolution) ของ Grid นั้น จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งจำนวนแถวและคอลัมน์ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม
Raster
ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT 7
ตัวอย่างข้อมูล Raster

landsat7

Landsat 7

ikonos

Ikonos

quickbird

Quickbird
หน้าที่ของ GIS
1. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Capture)
2. การเก็บบันทึกและเรียกค้นข้อมูล (Data Storage and Retrieval)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4. การวิเคราะห์/ประมวลข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Operation on Data)
5. การแสดงผลข้อมูล (Data Display)

ที่มา : http://www.envi.psu.ac.th/gis/gis/gis_index.htm
ประโยชน์ที่ได้รับจาก GIS
1. เพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลด้านสังคมเศรษฐกิจ การซ้อนทับของข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Overlay)
3. สามารถสร้างแบบจำลอง (Model) ทดสอบและเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะมีการนำเสนอยุทธวิธีในการปฏิบัติจริง
4. การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่าย
5. สามารถจัดการกับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้
ความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับ GIS
1. GIS เป็นเสมือนเครื่องมือวิเศษด้านเทคโนโลยี สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้สำหรับทุกคน
2. เทคโนโลยีนี้สามารถเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพเลวให้เป็นข้อมูลคุณภาพดีได้
3. ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นข้อมูลในรูป Digital ได้ง่าย
4. GIS มีความเชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะด้าน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาการนั้น ๆ ในการนำ GIS ไปใช้ เช่น การวางแผนการใช้ที่ดิน ผู้ใช้ GIS ไม่จำเป็นต้องรู้หลักการวางแผนหรือประเภทการใช้ที่ดินเลยก็ได้
5. การใช้ GIS ไม่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรม หรือประสบการณ์
6. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ GIS เป็นเรื่องของปัญหาทางด้านเทคนิค มากกว่าที่เป็นปัญหาทางด้านระบบ วิธีการ องค์กร และข้อมูล
7. การใช้ประโยชน์ของ GIS คล้ายกับงานด้านระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่น Land Resource Information System (LRIS), Natural Resource Information System (NRIS) ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งที่ใช้ร่วมกันในงานดังกล่าวคือ หลักการและเทคโนโลยี

16 มกราคม, 2551

ดาวเทียม (Satellite)




ดาวเทียม (Satellite) จัดว่าเป็นยานพาหนะประเภทหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ในหลักในการใช้งานไม่แตกต่างกับรถยนต์ รถบรรทุก เครื่องบิน หรือว่าเรือ ก็คือมีหน้าที่ในการขนส่งลำเลียงสิ่งของ คนหรือเครื่องจักรเป็นต้น การทำงานของดาวเทียมจะไม่มีคนขับ แต่จะเป็นการควบคุมการทำงานของดาวเทียมผ่านทางการสื่อสารระยะไกล โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ


1.Payload
2.Bus หรือ Platfrom


Payload คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของดาวเทียมแต่ละชนิด เช่นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เช่น LANDSAT7 SPOT5 IKONOS QUICKBIRD หรือ ดาวเทียม THEOS ที่เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย Payload ของดาวเทียมเหล่านั้น ก็คือกล้องถ่ายภาพรายละเอียดสูงที่ใช้ในการถ่ายภาพ
Bus หรือ Platfrom คือส่วนประกอบของดาวเทียมที่เช่นตัวถัง เครื่องยนต์ ชุดส่งถ่ายกำลัง ชุดขับเคลื่อน ระบบการควบคุมต่างๆ ระบบขับเคลื่อน ระบบเชื้อเพลิง หรือระบบกลไกอื่นๆ รวมไปถึงคนขับ คำว่า "Bus" นั้นเนศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกกันทั่วไปกับยานอวกาศหรือดาวเทียม

ระบบย่อยของ BUS ดาวเทียม มีดังนี้


1.ระบบสื่อสาร ทำหน้าที่ เชื่อมโยงดาวเทียมกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน และเชื่อมโยงระหว่างดาวเทียมด้วยกัน ข้อมูลต่างๆที่ส่งขึ้นไปจากสถานีควบคุมภาคพื้นดินสูดาวเทียม คือคำสั่งการทำงานของดาวเทียม ส่วนข้อมูลต่างๆที่ดาวเทียมส่งมายังสถานีภาคพื้นดินนั้นเป็นข้อมูลแสดงสถานภาพของดาวเทียมและข้อมูลจาก Payload (กล้องถ่ายภาพรายละเอียดสูง)


2.ระบบโครงสร้าง ทำหน้าที่ รองรับน้ำหนักและยึดส่วนประกอบและอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าเป็นตัวดาวเทียม โครงสร้างต้องมีความแข็งแรงมากและต้องมีน้ำหนักเบา สามารถรับแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนสูงได้ เพราะช่วงที่ดาวเทียมถูกส่งขึ้นวงโครจรนั้นเป็นช่วงที่ดาวเทียมตั้งรับแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือนสูง


3.ระบบไฟฟ้าต้นกำลัง ทำหน้าที่ เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับดาวเทียม ในส่วนของPayload และ Bus


ระบบไฟฟ้าต้นกำลังประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ


3.1 อุปกรณ์กำเนิดพลังงาน คือแผง Solar Cell ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า
3.2 อุปกรณ์สะสมพลังงาน คือ แบตเตอรี่ ดาวเทียมจะหมดอายุการใช้งานทันที่ระบบไฟฟ้าต้นกำลังไม่ทำงาน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการระบบการสื่อสาร Payload และ Bus
3.3 อุปกรณ์แปลงพลังงาน


4.ระบบควบคุมการวางตัว ทำหน้าที่หันตำแหน่งให้กับดาวเทียมเป็นไปตาม ทิศทางที่ต้องการหรือที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องการควบคุมให้ Payload หันไปในทิศทางที่ต้องการ เช่นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ต้องหันตัวกล้องถ่ายภาพลงมาที่พื้นโลกตลอดเวลาเพื่อทำการถ่ายภาพ


5.ระบบการจัดการข้อมูลและคำสั่ง ทำหน้าที่แปลงหรือถอดรหัสสัญญาณที่ส่งมาจากสถานควบคุมภาคพื้นดิน และกระจายคำสั่งที่ได้รับนั้นไปสู่อุปกรณ์หรือ Payload ที่เยวข้อง และทำหน้าที่รับและบันทึกข้อมูลดาวเทียมจาก Payload แปลงและเข้ารหัสสัญญาณและทำการส่งข้อมูลดังกล่าวลงมาสู่สถานีภาคพื้นดิน ในระบบจัดการข้อมูลบนดาวเทียมนั้นจะใช้ระบบ Computer เป็นหลัก


6.ระบบควบคุมความร้อน ทำหน้าที่รักษาระดับอุณหภูมิในตัวดาวเทียมและ Payload ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การควบคุมความร้อนทำได้หลายแบบเช่นการหุ้มด้วยฉนวนกันรังสีความร้อน และการใช้อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนจากด้านที่ร้อนไปยังด้านที่เย็นกว่า (จากด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ไปยังด้านอวกาศ)


7.ระบบขับดัน ทำหน้าที่ สร้างแรงขับดันเพื่อใช้ในการเปลี่ยนลักษณะวงโคจร หรือการควบคุมการทรงตัว ซึ่งประกอบด้วย หัวฉีด อุปกรณ์ควบคุม และระบบเชื้อเพลิง โดยเชื้อเพลิงที่ใช้กับดาวเทียมมีหลายแบบ โดยเฉพาะประเภท ไฮดรอซีน และแก็สอัด ไฮดรอกซีนจะใช้เป็นเชื้อเพลิงระบบขับดันขนาดใหญ่ที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดความเร็วของดาวเทียมเพื่อเปลี่ยนวงโคจร ส่วนแก็สอัดจะใช้ในการควบคุมการทรงตัวและปรับขนาดวงโคจร


โปรดติดตามตอนต่อไป


แหล่งที่มาอ้างอิงจาก : จดหมายข่าวสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,มีนาคม-เมษายน ปี2550 ฉบับที่ 1. รศ.ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา,วิศวกรรมดาวเทียม ตอนที่ 1 ระบบดาวเทียม.หน้า 12-14
Website : http://www.space.mict.go.th/

วงโคจรของดาวเทียม

วงโคจรของดาวเทียมมี 4 รูปแบบ

1.วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit)
2.วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit)
3.วงโคจรระนาบเอียง (Inclined Orbit)
4.วงโคจรโมนิยา (Molniya Orbit)

1.วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit)

ระนาบการโคจรของดาวเทียมจะอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเอียงทำมุมไม่เกิน 5 องศา ดาวเทียมจะเคลื่อนที่ไปทางเหนือหรือทางได้ได้ไม่ดเกิน 5 องศา อาจดูเหมือนว่าดาวเทียมจะอยู่บริเวณเหนือศูนย์สูตร จะเรียกดาวเทียมที่โคจรในรูปแบบนี้ว่าเป็นดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) มีการโคจรที่สัมพันธ์กับโลก (Geo Synchronous Orbit)
ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) จะมีตำแหน่งเสมือนอยู่กับที่แต่ความจริงนั้นดาวเทียมมีการโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่เท่ากับการที่โลกหมุนรอบตัวเองใน 1 รอบ
หมายเหตุ 1 รอบ เท่ากับ 23 ชั่วโมง 56 นาที 04.09054 วินาที หรือเท่ากับ 86164.09 วินาที

2.วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit)

ระนาบการโคจรของดาวเทียมมีทิศทางในแนวเหนือใต้ มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพด้วยดาวเทียม ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เพราะว่าเวลาดาวเทียมโคจรจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้ โลกก็มีการหมุนรอบตัวเอง ทำให้แต่ละรอบที่ดาวเทียมโคจรผ่านนั้นมีพื้นที่ที่ต่างกันไป ทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรผ่านได้ทุกพื้นที่ของโลก

3.วงโคจรระนาบเอียง (Inclined Orbit)

ระนาบการโคจรของดาวเทียมจะทำมุมกับระนาบศูนย์สูตร 0-180 องศา ดาวเทียมที่ใช้วงโคจรนี้ได้แก่ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในโลก และสามารถกำหนดวงโคจรให้ทุกครั้งที่ดาวเทียมโคจรผ่านพื้นที่ที่ต้องการในเวลาเดิม เช่น ฝูงดาวเทียม NavStra ที่ใช้งาน GPS ฝูงดาวเทียมดังกล่าวมีวงโคจรระนาบเอียงตัวอย่างดาวเทียมที่มีวงโคจรแบบระนาบเอียงดาวเทียมไทพัฒ มีระนาบทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตร 98 องศา ดาวเทียมจึงโคจรผ่านพื้นที่ระหว่าง Lat 82 องศาเหนือ กับ Lat 82 องศาใต้ เมื่อดาวเทียมไทพัฒ โคจรรอบที่ 11 จะผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครโคจรรอบที่ 12 จะผ่านประเทศอินเดีย

4.วงโคจรโมนิยา (Molniya Orbit)

เนื่องจากดาวเทียมค้างฟ้าไม่สามารถให้บริการสื่อสารในบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ได้เนื่องจากความโค้งของโลก การให้บริการในพื้นที่ลักษณะนี้จะต้องใช้ดาวเทียมในวงโคจรพิเศษ คือวงโคจรโมนิยา ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศรัสเซีย วงโคจรนี้ปลายของวงโคจรทางซีกโลกเหนือจะอยู่ไกลสุดห่างจากผิวซีกโลกเหนือประมาณ 40,000 กิโลเมตร ปลายของวงโคจรทางซีกโลกโต้จะอยู่ห่างจากผิวซีกโลกใต้ประมาณ 450-600 กิโลเมตรเวลาที่ดาวเทียมโคจรทางซีกโลกใต้จะมีความเร็วสูงกว่าทางซีกโลกโลกเหนือ โดยเฉพาะที่ปลายวงรีในทางซีกโลกเหนือดาวเทียมจะมีความเร็วน้อยที่สุด และจะมีดาวเทียม 3 ดวงเคลื่อนที่ตามกัน ทำให้เห็นดาวเทียมอยู่ทางซีกโลกเหนืออยู่ตลอกเวลา เมื่อดาวเทียมดวงหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านไป ดวงที่เคลื่อนที่ตามมาก็จะเข้ามาแทนที่ จึงดูเหมือนว่าเป็นดาวเทียมสื่อสารค้างฟ้า และสามารถให้บริการสื่อสารได้ครอบคลุมขั้วโลกเหนือทั้งหมด

ที่มาและแหล่งอ้างอิง : รศ.ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์.ความรู้เบื้องต้นด้านวงโคจรดาวเทียม ตอนที่ 2 วงโคจรดาวเทียม.จดหมายข่าวสำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Website : http://www.space.mict.go.th/

Search to Get MONEY! FREE to Sign Up!

Health Geographic Information System - P.Weerasak © 2008. Template by Dicas Blogger.

TOPO