ขออัญเชิญ ส.ค.ส.พระราชทานและพรปีใหม่จากในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อความเป็นสิริมงคล ขอจงทรงพระเจริญ



เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แก่พสกนิกรชาวไทย จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ “ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดี ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมากที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยใจภักดี และระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัว และปฏิญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใจ กาย ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิด จะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จ สมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน”
Click ที่นี่ เพื่อดู ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง ปี พ.ศ.2530-2552 
Click ที่นี่ เพื่อฟัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่พสกนิกรชาวไทย พ.ศ.2552 





28 มีนาคม, 2552

GPS : Global Positioning System


Global Positioning System : GPS
หมายถึง ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยสัญญาณดาวเทียม GPS ทำงานผ่านสัญญาณวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียมไปยังเครื่องรับสัญญาณบนพื้นดิน สัญญาณวิทยุที่รวบรวมจากดาวเทียมดวงต่างๆ จะนำมาใช้ในการคำนวณระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณและดาวเทียมแต่ละดวง ปัจจุบันเครื่องรับสัญญาณ GPS จะมีขนาดเล็กลงและมีราคาถูกลง สามารถนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์ ได้หลายรูปแบบ  และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สัญญาณ

องค์ประกอบของ GPS
1.Space Segment
ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียม 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรป
อเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging  
GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง แบ่งเป็น 6 วงโคจร วงโคจรละ 4
วง มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก  20,200 กม. ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลา
ในการโคจรรอบโลก  12  ชั่วโมง บริหารงานโดย Department of Defenses
- ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
- รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force) ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจาก
ดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจากนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึง
เปิดให้ประชาชนทั่วไปสา
มารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร

2.Control Segment
ประกอบด้วย สถานีภาคพื้นดิน 11 สถานี  สถานีหลัก อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศสหรัฐอเมริกา และศูนย์ควบคุม
ย่อยอีก 11 สถานี กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก




3.User Segment
ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้
เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสำรวจ การเดินทาง การใช้งานทางทหาร เป็นต้น




การทำงานของ GPS
แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
1. การรับสัญญาณจากดาวเทียมโดยหลักการรูปสามเหลี่ยมระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับ
2. GPS วัดระยะโดยใช้เวลาเดินทางของคลื่นวิทยุ
3. ดาวเทียมและเครื่องรับจำเป็นจะต้องมีนาฬิกาที่ละเอียดสูงมาก
4. นอกจากระยะทางแล้วจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศด้วย
5. ในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) และชั้นบรรยากาศโลก (Atmosphere) ความเร็วคลื่นวิทยุเดินทางได้ช้าลง จึงต้องทำการแก้ไขที่จุดนี้ด้วย

ประโยชน์ของเครื่อง GPS
1. บอกตำแหน่ง ณ เวลาปัจจุบัน ว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด
2. บันทึกเส้นทางที่ผู้ใช้ได้เดินทางไป เช่น การเดินป่า หรือเดินทางบนถนน
3. นำทางไปจุดหมายที่กำหนด
4. ใช้ค้นหาสถานที่สำคัญต่างๆ
 
การประยุกต์ใช้งาน GPS ในปัจจุบัน 
- การสาธารณสุขและการบรรเทาสาธารณะภัย
- การสำรวจ การก่อสร้างระบบเส้นทางคมนาคมและการทำแผนที่
- การขนส่งและ Logistics
- การควบคุมหรือติดตามยานพาหนะ (Tracking) การนำทาง (Navigator)
- การติดตามบุคคลหรือติดตามสัตว์ป่า
- การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การโยธา และการผังเมือง
- การนำไปใช้ประโยชน์ทางทหาร
- การป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินคืน 

Search to Get MONEY! FREE to Sign Up!

Health Geographic Information System - P.Weerasak © 2008. Template by Dicas Blogger.

TOPO