ขออัญเชิญ ส.ค.ส.พระราชทานและพรปีใหม่จากในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อความเป็นสิริมงคล ขอจงทรงพระเจริญ



เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แก่พสกนิกรชาวไทย จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ “ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดี ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมากที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยใจภักดี และระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัว และปฏิญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใจ กาย ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิด จะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จ สมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน”
Click ที่นี่ เพื่อดู ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง ปี พ.ศ.2530-2552 
Click ที่นี่ เพื่อฟัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่พสกนิกรชาวไทย พ.ศ.2552 





16 มกราคม, 2551

วงโคจรของดาวเทียม

วงโคจรของดาวเทียมมี 4 รูปแบบ

1.วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit)
2.วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit)
3.วงโคจรระนาบเอียง (Inclined Orbit)
4.วงโคจรโมนิยา (Molniya Orbit)

1.วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit)

ระนาบการโคจรของดาวเทียมจะอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเอียงทำมุมไม่เกิน 5 องศา ดาวเทียมจะเคลื่อนที่ไปทางเหนือหรือทางได้ได้ไม่ดเกิน 5 องศา อาจดูเหมือนว่าดาวเทียมจะอยู่บริเวณเหนือศูนย์สูตร จะเรียกดาวเทียมที่โคจรในรูปแบบนี้ว่าเป็นดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) มีการโคจรที่สัมพันธ์กับโลก (Geo Synchronous Orbit)
ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) จะมีตำแหน่งเสมือนอยู่กับที่แต่ความจริงนั้นดาวเทียมมีการโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่เท่ากับการที่โลกหมุนรอบตัวเองใน 1 รอบ
หมายเหตุ 1 รอบ เท่ากับ 23 ชั่วโมง 56 นาที 04.09054 วินาที หรือเท่ากับ 86164.09 วินาที

2.วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit)

ระนาบการโคจรของดาวเทียมมีทิศทางในแนวเหนือใต้ มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพด้วยดาวเทียม ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เพราะว่าเวลาดาวเทียมโคจรจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้ โลกก็มีการหมุนรอบตัวเอง ทำให้แต่ละรอบที่ดาวเทียมโคจรผ่านนั้นมีพื้นที่ที่ต่างกันไป ทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรผ่านได้ทุกพื้นที่ของโลก

3.วงโคจรระนาบเอียง (Inclined Orbit)

ระนาบการโคจรของดาวเทียมจะทำมุมกับระนาบศูนย์สูตร 0-180 องศา ดาวเทียมที่ใช้วงโคจรนี้ได้แก่ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในโลก และสามารถกำหนดวงโคจรให้ทุกครั้งที่ดาวเทียมโคจรผ่านพื้นที่ที่ต้องการในเวลาเดิม เช่น ฝูงดาวเทียม NavStra ที่ใช้งาน GPS ฝูงดาวเทียมดังกล่าวมีวงโคจรระนาบเอียงตัวอย่างดาวเทียมที่มีวงโคจรแบบระนาบเอียงดาวเทียมไทพัฒ มีระนาบทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตร 98 องศา ดาวเทียมจึงโคจรผ่านพื้นที่ระหว่าง Lat 82 องศาเหนือ กับ Lat 82 องศาใต้ เมื่อดาวเทียมไทพัฒ โคจรรอบที่ 11 จะผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครโคจรรอบที่ 12 จะผ่านประเทศอินเดีย

4.วงโคจรโมนิยา (Molniya Orbit)

เนื่องจากดาวเทียมค้างฟ้าไม่สามารถให้บริการสื่อสารในบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ได้เนื่องจากความโค้งของโลก การให้บริการในพื้นที่ลักษณะนี้จะต้องใช้ดาวเทียมในวงโคจรพิเศษ คือวงโคจรโมนิยา ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศรัสเซีย วงโคจรนี้ปลายของวงโคจรทางซีกโลกเหนือจะอยู่ไกลสุดห่างจากผิวซีกโลกเหนือประมาณ 40,000 กิโลเมตร ปลายของวงโคจรทางซีกโลกโต้จะอยู่ห่างจากผิวซีกโลกใต้ประมาณ 450-600 กิโลเมตรเวลาที่ดาวเทียมโคจรทางซีกโลกใต้จะมีความเร็วสูงกว่าทางซีกโลกโลกเหนือ โดยเฉพาะที่ปลายวงรีในทางซีกโลกเหนือดาวเทียมจะมีความเร็วน้อยที่สุด และจะมีดาวเทียม 3 ดวงเคลื่อนที่ตามกัน ทำให้เห็นดาวเทียมอยู่ทางซีกโลกเหนืออยู่ตลอกเวลา เมื่อดาวเทียมดวงหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านไป ดวงที่เคลื่อนที่ตามมาก็จะเข้ามาแทนที่ จึงดูเหมือนว่าเป็นดาวเทียมสื่อสารค้างฟ้า และสามารถให้บริการสื่อสารได้ครอบคลุมขั้วโลกเหนือทั้งหมด

ที่มาและแหล่งอ้างอิง : รศ.ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์.ความรู้เบื้องต้นด้านวงโคจรดาวเทียม ตอนที่ 2 วงโคจรดาวเทียม.จดหมายข่าวสำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Website : http://www.space.mict.go.th/

Search to Get MONEY! FREE to Sign Up!

Health Geographic Information System - P.Weerasak © 2008. Template by Dicas Blogger.

TOPO