ขออัญเชิญ ส.ค.ส.พระราชทานและพรปีใหม่จากในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อความเป็นสิริมงคล ขอจงทรงพระเจริญ



เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แก่พสกนิกรชาวไทย จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ “ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดี ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมากที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยใจภักดี และระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัว และปฏิญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใจ กาย ทุกแง่ทุกมุม ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิด จะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จ สมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน”
Click ที่นี่ เพื่อดู ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง ปี พ.ศ.2530-2552 
Click ที่นี่ เพื่อฟัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ แก่พสกนิกรชาวไทย พ.ศ.2552 





16 มกราคม, 2551

ดาวเทียม (Satellite)




ดาวเทียม (Satellite) จัดว่าเป็นยานพาหนะประเภทหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ในหลักในการใช้งานไม่แตกต่างกับรถยนต์ รถบรรทุก เครื่องบิน หรือว่าเรือ ก็คือมีหน้าที่ในการขนส่งลำเลียงสิ่งของ คนหรือเครื่องจักรเป็นต้น การทำงานของดาวเทียมจะไม่มีคนขับ แต่จะเป็นการควบคุมการทำงานของดาวเทียมผ่านทางการสื่อสารระยะไกล โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ


1.Payload
2.Bus หรือ Platfrom


Payload คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของดาวเทียมแต่ละชนิด เช่นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เช่น LANDSAT7 SPOT5 IKONOS QUICKBIRD หรือ ดาวเทียม THEOS ที่เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย Payload ของดาวเทียมเหล่านั้น ก็คือกล้องถ่ายภาพรายละเอียดสูงที่ใช้ในการถ่ายภาพ
Bus หรือ Platfrom คือส่วนประกอบของดาวเทียมที่เช่นตัวถัง เครื่องยนต์ ชุดส่งถ่ายกำลัง ชุดขับเคลื่อน ระบบการควบคุมต่างๆ ระบบขับเคลื่อน ระบบเชื้อเพลิง หรือระบบกลไกอื่นๆ รวมไปถึงคนขับ คำว่า "Bus" นั้นเนศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกกันทั่วไปกับยานอวกาศหรือดาวเทียม

ระบบย่อยของ BUS ดาวเทียม มีดังนี้


1.ระบบสื่อสาร ทำหน้าที่ เชื่อมโยงดาวเทียมกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน และเชื่อมโยงระหว่างดาวเทียมด้วยกัน ข้อมูลต่างๆที่ส่งขึ้นไปจากสถานีควบคุมภาคพื้นดินสูดาวเทียม คือคำสั่งการทำงานของดาวเทียม ส่วนข้อมูลต่างๆที่ดาวเทียมส่งมายังสถานีภาคพื้นดินนั้นเป็นข้อมูลแสดงสถานภาพของดาวเทียมและข้อมูลจาก Payload (กล้องถ่ายภาพรายละเอียดสูง)


2.ระบบโครงสร้าง ทำหน้าที่ รองรับน้ำหนักและยึดส่วนประกอบและอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าเป็นตัวดาวเทียม โครงสร้างต้องมีความแข็งแรงมากและต้องมีน้ำหนักเบา สามารถรับแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนสูงได้ เพราะช่วงที่ดาวเทียมถูกส่งขึ้นวงโครจรนั้นเป็นช่วงที่ดาวเทียมตั้งรับแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือนสูง


3.ระบบไฟฟ้าต้นกำลัง ทำหน้าที่ เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับดาวเทียม ในส่วนของPayload และ Bus


ระบบไฟฟ้าต้นกำลังประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ


3.1 อุปกรณ์กำเนิดพลังงาน คือแผง Solar Cell ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า
3.2 อุปกรณ์สะสมพลังงาน คือ แบตเตอรี่ ดาวเทียมจะหมดอายุการใช้งานทันที่ระบบไฟฟ้าต้นกำลังไม่ทำงาน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการระบบการสื่อสาร Payload และ Bus
3.3 อุปกรณ์แปลงพลังงาน


4.ระบบควบคุมการวางตัว ทำหน้าที่หันตำแหน่งให้กับดาวเทียมเป็นไปตาม ทิศทางที่ต้องการหรือที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องการควบคุมให้ Payload หันไปในทิศทางที่ต้องการ เช่นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ต้องหันตัวกล้องถ่ายภาพลงมาที่พื้นโลกตลอดเวลาเพื่อทำการถ่ายภาพ


5.ระบบการจัดการข้อมูลและคำสั่ง ทำหน้าที่แปลงหรือถอดรหัสสัญญาณที่ส่งมาจากสถานควบคุมภาคพื้นดิน และกระจายคำสั่งที่ได้รับนั้นไปสู่อุปกรณ์หรือ Payload ที่เยวข้อง และทำหน้าที่รับและบันทึกข้อมูลดาวเทียมจาก Payload แปลงและเข้ารหัสสัญญาณและทำการส่งข้อมูลดังกล่าวลงมาสู่สถานีภาคพื้นดิน ในระบบจัดการข้อมูลบนดาวเทียมนั้นจะใช้ระบบ Computer เป็นหลัก


6.ระบบควบคุมความร้อน ทำหน้าที่รักษาระดับอุณหภูมิในตัวดาวเทียมและ Payload ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การควบคุมความร้อนทำได้หลายแบบเช่นการหุ้มด้วยฉนวนกันรังสีความร้อน และการใช้อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนจากด้านที่ร้อนไปยังด้านที่เย็นกว่า (จากด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ไปยังด้านอวกาศ)


7.ระบบขับดัน ทำหน้าที่ สร้างแรงขับดันเพื่อใช้ในการเปลี่ยนลักษณะวงโคจร หรือการควบคุมการทรงตัว ซึ่งประกอบด้วย หัวฉีด อุปกรณ์ควบคุม และระบบเชื้อเพลิง โดยเชื้อเพลิงที่ใช้กับดาวเทียมมีหลายแบบ โดยเฉพาะประเภท ไฮดรอซีน และแก็สอัด ไฮดรอกซีนจะใช้เป็นเชื้อเพลิงระบบขับดันขนาดใหญ่ที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดความเร็วของดาวเทียมเพื่อเปลี่ยนวงโคจร ส่วนแก็สอัดจะใช้ในการควบคุมการทรงตัวและปรับขนาดวงโคจร


โปรดติดตามตอนต่อไป


แหล่งที่มาอ้างอิงจาก : จดหมายข่าวสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,มีนาคม-เมษายน ปี2550 ฉบับที่ 1. รศ.ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา,วิศวกรรมดาวเทียม ตอนที่ 1 ระบบดาวเทียม.หน้า 12-14
Website : http://www.space.mict.go.th/

Search to Get MONEY! FREE to Sign Up!

Health Geographic Information System - P.Weerasak © 2008. Template by Dicas Blogger.

TOPO